วันอังคารที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2556

ทดสอบปลายภาค

ให้นักศึกษาอ่านแล้วตอบคำถามประเด็นต่อไปนี้ (40 คะแนน)
1.ความหมายคำว่า กฎหมายรัฐธรรมนูญ พระราชบัญญัติ พระราชกำหนด พระราชกฤษฎีกา  เทศบัญญัติ  
   ตอบ กฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญ คือ กฎหมายที่ทำหน้าที่อธิบายขยายความเพื่อประกอบเนื้อความในรัฐธรรมนูญให้ สมบูรณ์ ละเอียด ชัดเจน ตามที่รัฐธรรมนูญมอบหมาย และกำหนด โดยถือว่ากฎหมายประเภทนี้มีลักษณะ และหลักเกณฑ์พิเศษแตกต่างจากกฎหมายธรรมดา หรือกฎเกณฑ์ที่กำหนดสถานะและความสัมพันธ์ ขององค์กรที่ใช้อำนาจสูงสุดต่อกันหรือต่อประชาชนและกฎเกณฑ์อื่น
     พระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) คือ บทกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่เป็นประจำตามปรกติ เพื่อวางระเบียบบังคับความประพฤติของบุคคลรวมทั้งองค์กรและเจ้าหน้าที่ของรัฐ เป็นบทบัญญัติแห่งกฎหมายที่มีฐานะสูงกว่าบทกฎหมายอื่น ๆ นอกจากรัฐธรรมนูญ ก่อนประกาศใช้บังคับ
     พระราชกำหนด  หมายถึง กฎหมายรูปแบบหนึ่งซึ่งพระมหากษัตริย์ทรงตราขึ้นโดยคำแนะนำและยินยอมของคณะรัฐมนตรี โดยอาศัยอำนาจตามที่รัฐธรรมนูญวางไว้ว่าเป็นกรณีฉุกเฉิน ที่มีความจำเป็นรีบด่วนอันมิอาจหลีกเลี่ยงได้ เพื่อประโยชน์ในการรักษาความปลอดภัยของประเทศ หรือความปลอดภัยสาธารณะหรือความมั่นคงในทางเศรษฐกิจของประเทศ หรือป้องปัดภัยพิบัติสาธารณะ หรือในกรณีที่มีความจำเป็นต้องมีกฎหมายเกี่ยวด้วยการภาษีอากรหรือเงินตรา ซึ่งจะต้องได้รับการพิจารณาโดยด่วนและลับ เพื่อรักษาประโยชน์ของแผ่นดิน พระราชกำหนดมีผลใช้บังคับได้ดังพระราชบัญญัติ ดังนั้นพระราชกำหนดจึงแก้ไขเพิ่มเติม หรือยกเลิกพระราชบัญญัติได้
     พระราชกฤษฎีกา คือ บทบัญญัติแห่งกฎหมายที่พระมหากษัตริย์ทรงตราขึ้นโดยอาศัยอำนาจตามรัฐธรรมนูญ พระราชบัญญัติ หรือพระราชกำหนด เพื่อใช้ในการบริหารราชการแผ่นดิน โดยคำแนะนำของคณะรัฐมนตรี มีศักดิ์ต่ำกว่ารัฐธรรมนูญ พระราชบัญญัติ ประมวลกฎหมาย และพระราชกำหนด
     เทศบัญญัติ คือ กฎหมายซึ่งเทศบาลได้ตราขึ้นใช้ในเขตเทศบาลของท้องถิ่นนั้น ๆ และจะต้องไม่ขัดหรือแย้งกับกฎหมายอื่น ๆ ที่มีลำดับศักดิ์สูงกว่า  ซึ่งตามพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2496 ได้ให้อำนาจเทศบาลตราเทศบัญญัติขึ้นใช้บังคับได้ในเขตเทศบาลของท้องถิ่นตน และสามารถวางโทษปรับแก่ผู้ละเมิดเทศบัญญัติได้ เช่น เทศบัญญัติ กทม. เรื่องการรักษาความสะอาด เทศบัญญัติ กทม.เรื่องการการควบคุมการก่อสร้างอาคาร
2.กฎหมายรัฐธรรมนูญ ที่ใช้ในการปกครองประเทศ ปัจจุบันเป็นอย่างไร ในการกำหนดออกกฎหมายสิ่งที่ต้องคำนึงถึงมากที่สุดของการประกาศใช้เป็นอย่างไร หากเราไม่มีรัฐธรรมนูญนักศึกษาคิดว่าจะเป็นอย่างไร อธิบาย 
   ตอบ กฎหมายรัฐธรรมนูญ ที่ใช้ในการปกครองประเทศ ปัจจุบันเป็น กฎหมายสูงสุดที่ใช้ในการปกครองประเทศ โดยกำหนดรูปแบบ ระเบียบ โครงสร้าง ตลอดจนแนวทางในการปกครองประเทศ  รวมไปถึงการอธิบายความสัมพันธ์ระหว่าง อำนาจรัฐ กับการปฏิบัติตนของประชาชน อย่างเป็นลายลักษณ์อักษร เพื่อให้ประชาชนอยู่ในรัฐอย่างร่มเย็นเป็นสุข โดยการจัดสรรอำนาจต่างๆบนพื้นฐานของความชอบธรรมมีรูปแบบการปกครองโดยให้ความ ยุติธรรมเสมอหน้ากัน เท่าเทียมกัน มีหลักประกันความเป็นพลเมืองแห่งรัฐ ในการกำหนดออกกฎหมายสิ่งที่ต้องคำนึงถึงมากที่สุดของการประกาศใช้คือ เป็นประโยชน์สูงสุดสำหรับประชาชนและการปกครองประเทศ โยดูความเหมาะสมควบคู่ไปกับความถูกต้อง ดิฉันคิดว่าหากประเทศไทยไม่มีรัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายแม่บทอาจทำให้ประเทศเกิดความวุ่นวายในระบบการปกครอง ไม่สงบสุข มีการเอารัดเอาเปรียบ ส่งผลต่อการดำรงชีวิตในสังคมปัจจุบัน             
 3.ในสภาพปัจจุบันการแก้ไขรัฐธรรมนูญมาตรา 112 มีนักวิชาการต้องการจะแก้ไขท่านคิดว่าควรที่จะแก้ไขหรือไม่ประเด็นใดอธิบายให้เหตุผล                                                                                            
 ตอบ ดิฉันคิดว่าไม่ควรแก้ไขเพราะว่าเป็นกฎหมายที่ป้องกันพระมหากษัตรย์ เพราะขนาดมีมาตรา 112 นักการเมืองบางพรรคยังหมิ่นพระเจ้าอยู่หัวกันไม่เว้นแต่ละวัน องค์พระมหากษัตรีย์ทรงอยู่ในฐานะที่เคารพสักการะ ผู้ใดจะละเมิดมิได้ ผู้ใดจะกล่าวหาฟ้องร้องในทางใดๆ คนส่วนใหญ่ในประเทศนี้ส่วนใหญ่เห็นว่าสถาบันกษัตริย์ไทยได้รับความเคารพอย่างสูง เปี่ยมด้วยบารมี เมตตา และคุณธรรม มีพระราชกรณียกิจและพระราชจริยวัตรที่ดีงาม และพสกนิกรชาวไทยล้วนแล้วแต่จงรักภักดี คนส่วนใหญ่ในประเทศนี้จึงยืนยันว่าสถาบันกษัตริย์ไทยมีความสำคัญสำหรับประชาชนเป็นอย่างมากทั้งในอดีตจนถึงปัจจุบัน ดังนั้นไม่ควรแก้ไขรัฐธรรมนูญมาตรา 112
4.กรณีเกิดความขัดแย้งระหว่างเพื่อนบ้านเรื่องชายแดนระหว่างไทยกับกัมพูชาที่เป็นกรณีพิพากขึ้นศาลโลกเรื่องดินแดนท่านเป็นคนไทยคนหนึ่งมองปัญหานี้อย่างไร และจะมีวิธีการแก้ไขอย่างไรเพื่อมิให้ไทยต้องเสียดินแดน
   ตอบ ดิฉันคิดว่ากรณีเกิดความขัดแย้งระหว่างเพื่อนบ้านเรื่องชายแดนระหว่างไทยกับกัมพูชาถือเป็นปัญหาใหญ่ระหว่างประเทศที่มีความยืดเยื้อที่หาข้อยุติมิได้เพราะต่างฝ่ายก็เห็นประโยชน์ในสิ่งที่ได้รับหรือสิ่งที่ต่างฝ่ายต่างต้องการ ฉันคิดว่าแนวทางหรือวิธีการแก้ไขที่จะปกป้องไม่ให้ประเทศไทยต้องสูญเสียดินแดนขึ้นอยู่กับคนไทยหรือหน่วยงานต่างๆทุกคนที่ปกป้อง ดูแลสมบัติของชาติหรือแผ่นดินไทยไม่ให้ตกเป็นของคนอื่น
5.พระราชบัญญัติการศึกษาเปรียบเสมือนรัฐธรรมนูญการศึกษา ท่านเห็นด้วยกับประเด็นนี้หรือไม่ อธิบายให้เหตุผล
                                                 
   ตอบ เห็นด้วย เพราะพระราชบัญญัติการศึกษาเพราะมีการกำหนดรูปแบบ ระเบียบ โครงสร้าง ตลอดจนแนวทางในการปกครองในระบบทางการศึกษาเหมือน รัฐธรรมนูญการศึกษา รวมไปถึงการอธิบายความสัมพันธ์ระหว่าง การศึกษากับความสำคัญในกฎระเบียบที่ได้กำหนดไว้ โดยกำหนดอย่างเป็นลายลักษณ์อักษร เพื่อให้การศึกษามีความเป็นระบบ ระเบียบในการศึกษาในแต่ละระบบให้บรรลุตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่กำหนดไว้ โดยดำเนินอยู่บนพื้นฐานหรือภายใต้กฏระเบียบที่พระราชบัญญัติการศึกษาได้กำหนดไว้
6.ตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ ขอให้นักศึกษาให้ความหมาย
    การศึกษา การศึกษาขั้นพื้นฐาน การศึกษาตลอดชีวิต การศึกษาในระบบ การศึกษานอกระบบ การศึกษาตามอัธยาศัย สถานศึกษา สถานศึกษาขั้นพื้นฐาน มาตรฐานการศึกษา การประกันคุณภาพภายใน การประกันคุณภาพภายนอก ผู้สอน ครู คณาจารย์ ผู้บริหารการศึกษา ผู้บริหารสถานศึกษา บุคลากรทางการศึกษา สถานศึกษา

   ตอบ  การศึกษา หมายความว่า กระบวนการเรียนรู้เพื่อความเจริญงอกงามของบุคคลและสังคม โดยการถ่ายทอดความรู้ การฝึก การอบรม การสืบสานทางวัฒนธรรม การเรียนรู้และปัจจัยเกื้อหนุนให้บุคคลเรียนรู้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต                                                                                           
        การศึกษาขั้นพื้นฐาน หมายความว่า การศึกษาก่อนระดับอุดมศึกษา            
        การศึกษาตลอดชีวิต หมายความว่า การศึกษาที่เกิดจากการผสมผสานระหว่างการศึกษาในระบบ การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย เพื่อให้สามารถพัฒนาคุณภาพชีวิตได้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต                                                                                           
        สถานศึกษา หมายความว่า สถานพัฒนาเด็กปฐมวัย โรงเรียน ศูนย์การเรียน วิทยาลัย สถาบัน มหาวิทยาลัย หน่วยงานการศึกษาหรือหน่วยงานอื่นของรัฐหรือของเอกชน ที่มีอำนาจหน้าที่หรือมีวัตถุประสงค์ในการจัดการศึกษา                                      
        สถานศึกษาขั้นพื้นฐาน หมายความว่า สถานศึกษาที่จัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน 
        มาตรฐานการศึกษา หมายความว่า ข้อกำหนดเกี่ยวกับคุณลักษณะ คุณภาพ ที่พึงประสงค์และมาตรฐานที่ต้องการให้เกิดขึ้นในสถานศึกษาทุกแห่ง และเพื่อใช้เป็นหลักในการเทียบเคียงสำหรับการส่งเสริมและกำกับดูแลการตรวจสอบ  การประเมินผลและการประกันคุณภาพทางการศึกษา      
        การประกันคุณภาพภายใน หมายความว่า การประเมินผลและการติดตามตรวจสอบคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษาจากภายใน โดยบุคลากรของสถานศึกษานั้นเอง หรือโดยหน่วยงาน 

       การประกันคุณภาพภายนอก หมายความว่า การประเมินผลและการติดตามตรวจสอบคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษาจากภายนอก โดยสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษาหรือบุคคลหรือหน่วยงานภายนอกที่สำนักงานดังกล่าวรับรอง เพื่อเป็นการประกันคุณภาพและให้มีการพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา            
        ผู้สอน หมายความว่า ครูและคณาจารย์ในสถานศึกษาระดับต่าง ๆ ที่ให้แก่ผู้เรียน  
        ครู หมายความว่า บุคลากรวิชาชีพซึ่งทำหน้าที่หลักทางด้านการเรียนการสอนและการส่งเสริมการเรียนรู้ของผู้เรียนด้วยวิธีการต่าง ๆ ในสถานศึกษาของทั้งของรัฐและเอกชน   
        คณาจารย์ หมายความว่า บุคลากรซึ่งทำหน้าที่หลักทางด้านการสอนและการวิจัยในสถานศึกษาระดับอุดมศึกษาระดับปริญญาของรัฐและเอกชน                    
        ผู้บริหารสถานศึกษา หมายความว่า บุคลากรวิชาชีพที่รับผิดชอบการบริหารสถานศึกษาแต่ละแห่งของรัฐและเอกชน                                                                                                               
        ผู้บริหารการศึกษา หมายความว่า บุคลากรวิชาชีพที่รับผิดชอบการบริหารการศึกษานอกสถานศึกษาตั้งแต่ระดับเขตพื้นที่การศึกษาขึ้นไป                             
        บุคลากรทางการศึกษา หมายความว่า ผู้บริหารสถานศึกษา ผู้บริหารการศึกษา รวมทั้งผู้สนับสนุนการศึกษาซึ่งเป็นผู้ทำหน้าที่ให้บริการ หรือปฏิบัติงานเกี่ยวเนื่องกับการจัดกระบวนการเรียนการสอน การนิเทศ และการบริหารการศึกษาในหน่วยงานสถานศึกษาต่างๆ
7.ในการจัดการศึกษานักศึกษาคิดว่ามีความมุ่งหมายและหลักการจัดการในการจัดการศึกษา อย่างไร
   ตอบ มุ่งเป้าหมายการจัดการศึกษาและหลักการจัดการในการจัดการศึกษา สำหรับการพัฒนาของแต่ละบุคคล และการพัฒนาสังคม  ได้แก่                                                                                                 
1.ให้บริการทางการศึกษาที่สอดคล้องกับความต้องการในการดำรงชีวิตและการประกอบอาชีพ โดยถ่ายทอดหรือปลูกฝังเนื้อหาความรู้ความเข้าใจที่เหมาะสม เพื่อให้ผู้ได้รับการศึกษาวางตัวได้เหมาะสมในสังคม และมีความสามารถประกอบอาชีพตามความถนัด ความสนใจ หรือตามโอกาสของแต่ละคนได้ สถานศึกษาส่วนใหญ่ที่เรียกว่า โรงเรียน มหาวิทยาลัย ศูนย์การเรียน สถานศึกษาปฐมวัย ทำหน้าที่เป็นผู้ให้บริการทางการศึกษา
2.เตรียมเด็กก่อนวัยเรียนให้มีความพร้อมในการเรียนรู้ และจัดให้เด็กในวัยเรียนได้รับการศึกษาเพื่อการเรียนรู้และการพัฒนาตนเองต่อเนื่อง โดยส่งเสริมเกื้อหนุนให้เด็กก่อนวัยเรียนขั้นพื้นฐาน ได้มีพัฒนาการทั้งทางร่างกาย เชาวน์ปัญญา ความสนใจ ที่เหมาะสม มีความพร้อมในการศึกษาระดับสูงขึ้นไป การจัดการส่วนนี้ โดยทั่วไปเป็นความร่วมมือระหว่างพ่อแม่ผู้ปกครอง สถานพัฒนาเด็กปฐมวัย ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก เป็นต้น ส่วนเด็กในวัยเรียนทุกระดับจะได้รับการศึกษาเพื่อเป็นประโยชน์สำหรับการเตรียมตัวระดับพื้นฐาน และเพื่อมีความรู้ความสามารถในการประกอบอาชีพการงานต่อไป
3.ให้โอกาสทางการศึกษา โดยเข้าถึงผู้รับบริการที่ไม่สามารถเข้ารับการศึกษาตามปกติ ที่มีอยู่หลากหลาย การจัดการศึกษาลักษณะนี้มุ่งไปที่ผู้ด้อยโอกาสต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นผู้ที่มีฐานะยากจน ผู้ที่พลาดโอกาสได้รับการศึกษาในบางช่วงของชีวิต ผู้ที่มีปัญหาทางร่างกาย จิตใจ หรือสติปัญญา  การจัดการศึกษาเช่นนี้มักดำเนินการโดยสถานศึกษาเฉพาะด้าน เช่น โรงเรียนสอนคนตาบอด โรงเรียนศึกษาสงเคราะห์ หรือโดยวิธีการอื่นนอกระบบและตามอัธยาศัย เช่น ศูนย์การเรียนรู้การศึกษาในระบบทางไกล เป็นต้น                                                                                                                                        4.ตอบสนองความต้องการทางการศึกษาระดับสูงในเชิงคุณภาพ วัตถุประสงค์นี้มุ่งส่งเสริมให้ประชาชนมีโอกาสได้พัฒนาความรู้ความสามารถเฉพาะด้าน เพื่อประโยชน์ในการประกอบอาชีพ ซึ่งอาจดำเนินการโดยสถาบันอุดมศึกษาที่เน้นการวิเคราะห์วิจัยระดับสูง มุ่งคิดค้นเนื้อหาสาระที่แปลกใหม่จากเดิม นอกจากนี้ยังรวมถึงการฝึกอบรมเฉพาะทาง เช่น  ด้านการเกษตร การอุตสาหกรรม วิทยาศาสตร์สุขภาพ เป็นต้น มักดำเนินการในรูปแบบการประชุมสัมมนา การฝึกอบรม การดูงาน การฝึกปฏิบัติเฉพาะ ฯลฯ
5.พัฒนาศักยภาพของแต่ละบุคคลให้เต็มตามความสามารถ และตอบสนองวิสัยทัศน์ในการพัฒนาประเทศ วัตถุประสงค์ในการจัดการศึกษาข้อนี้เน้นการพัฒนามนุษย์ในลักษณะบูรณาการ คือให้มีความสมบูรณ์ครบถ้วนทุกด้าน ทั้งทางร่างกาย สติปัญญา คุณธรรม ความคิด ความสำนึก ความรับผิดชอบ ฯลฯ ซึ่งตามปกติควรเป็นหน้าที่ของสถานศึกษา แต่หากสถานศึกษาไม่สามารถดูแลให้ครบถ้วนได้ ก็ต้องจัดส่วนเสริมเติมในลักษณะการฝึกอบรมเฉพาะ การแทรกในกิจกรรมการเรียนการสอนปกติ หรือการใช้สื่อต่างๆช่วยเสริม วัตถุประสงค์ส่วนนี้ยังรวมไปถึงการพัฒนาทักษะและคุณภาพของผู้ที่ทำงานแล้วหรือผู้ที่ผ่านการศึกษาตามกระบวนการปกติ ให้สามารถติดตามความรู้ใหม่ๆและวิทยาการที่มีการเปลี่ยนแปลงได้อย่างต่อเนื่อง                              
     นอกจากนั้นหลักสำคัญในการจัดการศึกษาในพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 (ตามมาตรา 8) กำหนดไว้ 3 ประการ คือการศึกษาตลอดชีวิต การมีส่วนร่วม และการพัฒนาต่อเนื่อง

8.มีบุคคลหนึ่งเข้าไปเป็นครูสอนหนังสือในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานอยู่เป็นประจำกรณีมิได้รับการบรรจุเป็นครู หากพิจารณาตามกฎหมายถ้าผิดกฎหมายท่านคิดว่าจะถูกลงโทษอย่างไร หากไม่ผิดกฎหมายท่านคิดว่าจะมีวิธีการทำอย่างไร                                         
   ตอบ กรณีที่ครูผู้สอนมีได้รับการบรรจุแล้วทำผิดกฎหมายจะต้อองถูกลองโทษให้เป็นไปตามกฎหมายที่ระบุหรือบัญญัติไว้ เพราะถือว่าครูเป็นประชาชนคนหนึ่งที่จะต้องอยู่ภายใต้การปกครองและกฏระเบียบที่ได้กำหนดไว้  ผู้ที่ทำผิดไม่สามารถฝ่าฝืนและหนีความผิดได้
9.หากนักศึกษาต้องการสอบบรรจุเป็นครูผู้ช่วยจะต้องมีคุณสมบัติอย่างไร
                   
   ตอบ นักศึกษาต้องการสอบบรรจุเป็นครูผู้ช่วยจะต้องมีคุณสมบัติทั่วไป ดังต่อไปนี้
(1)มีสัญชาติไทย
(2)มีอายุไม่ต่ำกว่าสิบแปดปีบริบูรณ์
(3)เป็นผู้เลื่อมใสในการปกครองและระบบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ครองเป็นประมุขตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
(4)ไม่เป็นผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง สมาชิกสภาท้องถิ่น หรือผู้บริหารท้องถิ่น
(5)ไม่เป็นคนไร้ความสามารถ หรือจิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบ หรือเป็นโรคตามที่กำหนดในกฎ ก.ค.ศ.
(6)ไม่เป็นผู้อยู่ในระหว่างถูกสั่งพักราชการ ถูกสั่งออกจากราชการไว้ก่อนตามพระราชบัญญัตินี้
(7)ไม่เป็นผู้บกพร่องในศีลธรรมอันดีสำหรับการเป็นผู้ประกอบวิชาชีพครูและบุคลากรทางการศึกษา
(8)ไม่เป็นกรรมการบริหารพรรคการเมืองหรือเจ้าหน้าที่ในพรรคการเมือง
(9)ไม่เป็นบุคคลล้มละลาย
(10)ไม่เป็นผู้เคยต้องโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก เว้นแต่เป็นโทษสำหรับความคิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความลหุโทษ
(11)ไม่เป็นผู้เคยถูกลงโทษให้ออก ปลดออก หรือไล่ออกจารัฐวิสาหกิจ องค์การมหาชนหรือหน่วยงานอื่นของรัฐ หรือองค์การระหว่างประเทศ
(12)ไม่เป็นผู้เคยถูกลงโทษให้ออก ปลดออก หรือไล่ออกเพราะกระทำผิดวินัยตามพระราชบัญญัตินี้ หรือตามกฎหมายอื่น
(13)ไม่เป็นผู้เคยกระทำการทุจริตในการสอบเข้ารับราชการหรือเข้าปฏิบัติงานในหน่วยงานของรัฐ

10.ให้นักศึกษาแสดงความคิดเห็นว่าเมื่อเรียนวิชานี้ นักศึกษาได้อะไรบ้างครูผู้อนวิชาชีพโดยใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ Weblog มีความเหมาะสมและเป็นไปได้อย่างไร  วิจารณ์แสดงความคิดเห็น และถ้าจะให้น้ำหนักวิชานี้ ควรให้เกรดอะไร  และนักศึกษาคิดว่าตนเองจะได้เกรดอะไร                 
     ตอบ ในรายวิชากฎหมายการศึกษาดิฉันได้เรียนรู้เกี่ยวกับกฎ ระเบียบ วิธีการที่ใช้ในสถานศึกษาและกฎระเบียบที่ครูผู้สอนพึ่งปฏิบัติเมื่อทำหน้าที่เป็นบุคลากรทางการศึกษา โดยกฎระเบียบถือเป็นกฎเกณฑ์ที่ทำให้สถานศึกษาทำงานอย่างเป็นระบบตามที่กฎหมายได้บัญญัติไว้และเพื่อเป็นแนวทางในการจัดการศึกษา ซึ่งกฎหมายแต่ละข้อล้วนมีประโยชน์ผู้บริหาร คณะครู บุคลากรทางการศึกษาและนักเรียน
    จาการที่ผู้สอนนำเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้กับกิจกรรมการเรียนการสอน เป็นประโยชน์อย่างยิ่งกับผู้เรียนในการเรียนรู้วิชากฎหมายการศึกษา ซึ่งปกติรายวิชาดังกล่าวเป็นวิชาที่ค่อนข้างน่าเบื่อและอย่างที่จะเข้าใจในกฎระเบียบต่างๆ แต่เมื่อผู้สอนนำ Weblog มาใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนทำให้นักเรียนสนใจในการเรียนมากยิ่งขึ้น เพราะเทคโนโลยีสามารถดึงดูดผู้เรียน นอกจากนั้นเทคโนโลยีดังกล่าวสามารถเป็นเทคโนโลยีที่ทันสมัย ผู้เรียนสามารถเรียนรู้บทเรียนจาก blog แล้วสามารถสรุปองค์ความรู้ที่ได้เรียนรู้ผ่าน blog เพื่อใช้แชร์หรือแลกเปลี่ยนข้อมูลกับค้นอื่นได้โดยผ่านทางเทคโนโลยีที่ทันสมัย  ดังนั้นดิฉันคิดว่าการใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ Weblog เป็นวิธีการที่เหมาะสมในการนำมาประยุกต์ใช้ในกิจกรรมการเรียนการสอนเพื่อให้การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
    ถ้าจะให้น้ำหนักวิชานี้ควรให้เกรดหรือระดับเกณฑ์ที่เหมาะสมกับผู้เรียน โดยการวิเคราะห์จากผลงานหรือการทำกิจกรรมต่าง ส่วนตัวของดิฉันเองต้องการได้เกรด A เพราะดิฉันคิดว่าในการทำกิจกรรมต่างๆดิฉันจะตั้งใจทำและคิดว่าผลงานที่ออกมาก็ดีพอควรและที่สำคัญดิฉันให้ความสำคัญกับรายวิชานี้มาก จะเห็นได้จากการที่ดิฉันไม่เคยขาดเรียนในรายวิชานี้เลย