วันอังคารที่ 8 มกราคม พ.ศ. 2556

ทดสอบกลางภาคเรียน

คำชี้แจง
ให้นักศึกษาอ่านแล้วตอบคำถามดังต่อไปนี้
ทำลงในบล็อกของนักศึกษาเขียนหัวข้อเหมือนอาจารย์ (100 คะแนน)

1.กฎหมายคืออะไร จงอธิบาย และการบังคับใช้กฎหมายจะต้องเป็นไปด้วยความเสมอภาคโดยไม่เลือกปฏิบัติหมายความว่าอย่างไร                              
   ตอบ กฎหมาย คือคำสั่งหรือข้อบังคับความประพฤติของมนุษย์หรือผลเมือง  ซึ่งผู้มีอำนาจสูงสุด หรือรัฏฐาธิปัตย์เป็นผู้บัญญัติขึ้นผู้ใดฝ่าฝืน จะถูกลงโทษ การบังคับใช้กฎหมายจะต้องเป็นไปด้วยความเสมอภาคโดยไม่เลือกปฏิบัติหมายความว่า ประชาชนทุกคนจะต้องปฎิบัติตามคำสั่งหรือข้อบังคับความประฟฤติของมนุษย์ ซึ่งเป็นอำนาจสูงสุด ไม่ว่าบุคคลนั้นจะเป็นใครจะต้องอยู่ภายใต้กฎข้อบังคับนั้นและการปฏิบัตการ ถ้าผู้ใดฝ่าฝืนจะต้องถูกลงโทษตามกฎหมายนั้นได้กำหนดโดยไม่มีข้อยกเว้นว่าเป็นบุคคลใด
2.การที่กฎหมายกำหนดให้ครู ผู้บริหารสถานศึกษา ผูู้บริหารการศึกษา และบุคลากรทางการศึกษาอื่น ทั้งของรัีฐ และเอกชน จะต้องมีใบประกอบวิชาชีพ ท่านเห็นด้วยหรือไม่เพราะอะไร จงให้เหตุผลประกอบ
   ตอบ เห็นด้วย เพราะ ใบประกอบวิชาชีพถือว่ามีความสำคัญเป็นอย่างมากสำหรับการประกอบอาชีพครู เพราะว่าอาชีพครูเป็นอาชีพที่มีจรรยาบรรณ  ต้องมีความรับผิดชอบต่อลูกศิษย์  ไม่ใช่ว่าใครที่ไหนก็สามารถจะมาเป็นครูได้ ฉะนั้นคนที่อยากเป็นครูจึงต้องมีใบประกอบวิชาชีพทุกคน เพื่อใช้เป็นหลักฐานแสดงว่าเป็นบุคคลที่มีความรู้ความสามารถและมีประสบการณ์พร้อมที่จะประกอบวิชาชีพทางการศึกษาได้
3.ท่านมีแนวทางในการระดมทุน และทรัพยากรเพื่อการศึกษาในท้องถิ่นของท่านอย่างไรบ้าง อธิบายยกตัวอย่าง
   ตอบ ให้บุคคล ครอบครัว ชุมชน องค์กรชุมชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น องค์กรเอกชน และสถาบันสังคมอื่น ระดมทรัพยากรเพื่อการศึกษา โดยเป็นผู้จัดและมีส่วนร่วมในกาจัดการศึกษา บริจาคทรัพย์สินและทรัพยากรอื่นให้แก่สถานศึกษา โดยการจัดกิจกรรมที่ประโยชน์และสามารถระดมทุนการศึกษาได้ ด้วยความร่วมมือของคนในท้องถิ่นและบุคคลากรทางด้านอื่น นอกจากนั้นให้ทุกฝ่ายมีส่วนร่วมรับภาระค่าใช้จ่ายทางการศึกษาตามเหมาะสมและความจำเป็นทั้งนี้ให้รัฐและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ส่งเสริมและให้แรงจูงใจในการระดมทรัพยากร โดยการสนับสนุน การอุดหนุนและใช้มาตรการลดหย่อนหรือยกเว้นภาษีตามความเหมาะสมและความจำเป็น ให้เป็นไปตามที่กฎหมายกำหนด  และจัดสรรในการบริหารการใช้จ่ายให้เหมาะสม
4.รูปแบบการจัดการศึกษามีกี่รูปแบบอะไรบ้าง และการศึกษาในระบบมีกี่ระดับประกอบด้วยอะไรบ้าง
  ตอบ
รูปแบบการศึกษามี 3 รูปแบบ ประกอบด้วย การศึกษาในระบบ การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยการ ศึกษาในระบบ แบ่งออกเป็น 2 ระดับ คือ การศึกษาขั้นพื้นฐาน และการศึกษาระดับอุดมศึศึกษา

5.ท่านเข้าใจการศึกษาภาคบังคับและการศึกษาขั้นพื้นฐานเหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร อธิบายยกตัวอย่างประกอบ                                                 
   ตอบ แตกต่างกัน การศึกษาภาคบังคับ เป็นการศึกษาตั้งแต่ระดับชั้นปีที่หนึ่งถึงปี่เก้าของการศึกษาขั้นพื้นฐานตามกฎว่าด้วยการศึกษาแห่งชาติ  การศึกษาขั้นพื้นฐาน เป็นการศึกษาที่มุ่งให้ตอบสนองความต้องการทางการเรียนรู้ขั้นพื้นฐาน ซึ่งรวมถึงการเรียนการสอนในระดับต้น ซึ่งเป็นพื้นฐานให้แก่การเรียนรู้ขั้นต่อไป ดังนั้นการศึกษาภาคบังคับนั้นต่างจากการศึกษาขั้นพื้นฐาน คือการศึกษาขั้นพื้นฐาน ไม่บังคับให้ประชาชนต้องเข้าเรียนแต่เป็นสิทธิ์ของคนไทย ส่วนการศึกษาภาคบังคับเป็นการบังคับให้เข้าเรียนถือเป็นหน้าที่ของพลเมือง ตามมาตรา 69 ของรัฐธรรมนูญ  เช่น นักเรียนคนหนึ่งจบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานถือว่าจบการศึกษาภาคบังคับ ถ้าเขาต้องการจะเรียนต่อจนจบชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ถือว่าจบการศึกษาระดับขั้นพื้นฐาน
6.การแบ่งส่วนราชการในส่วนกลางของกระทรวงศึกษาธิการ ตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ.2546 และแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2553 มีการแบ่งส่วนราชการเป็นอย่างไร และมีใครเป็นหัวหน้าส่วนราชการดังกล่าว อธิบายยกตัวอย่าง

 
ตอบ การแบ่งส่วนราชการในส่วนกลางของกระทรวงศึกษาธิการให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติ โดยให้มีหัวหน้าส่วนราชการขึ้นตรงต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ดังนี้  สำนักงานรัฐมนตรี     สำนักงานปลัดกระทรวง สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา โดยมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการเป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการและกำหนดนโยบาย เป้าหมาย และผลสัมฤทธิ์ของงานในกระทรวงศึกษาธิการ ให้สอดคล้องกับนโยบายต่างๆที่คณะรัฐมนตรีแถลงไว้ต่อรัฐสภา และจะให้มีรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการเป็นผู้ช่วยสั่งและปฏิบัติราชการก็ได้
7.จงบอกเหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติสภาครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ.2546
  
ตอบ เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ ครู ผู้บริหารสถานศึกษา ผู้บริหารการศึกษาและบุคลากรทางการศึกษาเป็นผู้มีบทบาทสำคัญต่อการจัดการศึกษาของชาติ จึงต้องเป็นผู้มีความรู้ ความสามารถ และทักษะอย่างสูงในการประกอบวิชาชีพ มีคุณธรรม จริยธรรมและประพฤติปฏิบัติตนตามจรรยาบรรณของวิชาชีพ รวมทั้งมีคุณภาพและมาตรฐานเหมาะสมกับการเป็นวิชาชีพชั้นสูง จึงจำเป็นต้องตรากฎหมายเพื่อพัฒนาวิชาชีพครู และส่งเสริมมาตรฐานวิชาชีพครูบุคลากรทางการศึกษา และปรับสภาในกระทรวงศึกษาธิการ

8.ท่านเข้าใจหรือไม่ว่า ถ้ามีบุคลากรไปให้ความรู้หรือสอนในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นครั้งคราว หรือไปสอนเป็นประจำ  หากพิจารณาจากพระราชบัญญัติสภาครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ.2546 กระทำผิดตาม พรบ.นี้หรือไม่เพราะเหตุ
ตอบ ผิด เพราะบุคลากร บุคคลซึ่งทำหน้าที่สนับสนุนการศึกษา ให้บริการหรือปฏิบัติงานเกี่ยวเนื่องกับการจัดกระบวนการเรียนการสอน การนิเทศ และการบริหารการศึกษาในซึ่งหน่วยงานการศึกษาต่างๆ ซึ่งหน่วยงานการศึกษากำหนดตำแหน่งให้ต้องมีคุณวุฒิทางการศึกษา ด้วยเหตุคิดว่าในด้านการให้ความรู้ควรเป็นหน้าที่ของครู ซึ่งเป็นบุคคลที่มีความเชี่ยวชาญทางด้านเนื้อห
9.ท่านเข้าใจความหมายโทษทางวินัย สำหรับข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา อย่างไร อธิบาย และโทษทางวินัยมีกี่สถาน อะไรบ้าง
     ตอบ
โทษทางวินัย เป็นกฎระเบียบ ข้อบังคับ ที่ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาทุกคน ที่จะต้องรักษาวินัยโดยไม่ฝ่าฝืนข้อห้ามและต้องปฏิบัติตามข้อกำหนดของวินัย โดยเคร่งครัดอยู่เสมอหากกระทำผิดก็จะถุกลงโทษ
     โทษทางวินัยมี 5 สถาน ได้แก่
1.ภาคทัณฑ์
2.ตัดเงินเดือน
3.ลดขั้นเงินเดือน
4.ปลดออก
5.ไล่ออก

10.ท่านเข้าใจคำว่า เด็ก  เด็กเร่ร่อน เด็กกำพร้า เด็กที่อยู่ในสภาพลำบาก เด็กที่เสี่ยงต่อการกระทำผิด ทารุณกรรม ที่สอดคล้องกับ พรบ.คุ้มครองเด็ก พ.ศ. 2546 อย่างไรจงอธิบาย ตามความเข้าของท่าน 
   ตอบ เด็ก เป็นบุคคลที่มีอายุต่ำกว่าสิบแปดปีบริบูรณ์ ซึ่งต้องได้รับการดูแลจากผู้ปกครองหรือผู้ใหญ่ ส่วนเด็กเร่ร่อน เป็นเด็กที่ไม่มีบิดามารดาหรือผู้ปกครองหรือมีแต่ไม่เลี้ยงดูหรือไม่สามารถเลี้ยงดูได้ จนเป็นเหตุให้เด็กต้องเร่ร่อนไปในที่ต่าง ๆ เด็กเหล่านี้ที่เสี่ยงต่อการกระทำผิดและโดนทารุณกรรม ส่วนใหญ่สิ่งเหล่านี้จะเกิดมาจากสาเหตุมาจากเด็กที่ไม่มีผู้ปกครองดูแล ผู้ปกครองไม่ทีความรับผิดชอบหรือไม่พร้อมที่จะดูแล จึงทำให้เด็กเสี่ยงต่อการกระทำในสิ่งที่ไม่ดี และการทารุณกรรม ถือเป็นการทำร้าย ลงโทษ เด็กอย่างรุนแรงหรือให้เด็กทำงานหนัก จนเด็กไม่สามารถทมหรือรับมือได้กับสิ่งเหล่านั้น และจะกระทำแบบนี้บ่อยครั้งโดยไม่คิดถึงจิตใจและความรู้สึกของเด็ก

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น