ให้นักศึกษาค้นหาคำนิยามที่เกี่ยวข้องกับกฎหมายหาให้มากที่สุดแล้วเขียนลงในกิจกรรมที่ 1 ของนักศึกษาอย่างน้อยคนละ 10 ชื่อ
จรรยาบรรณ
หมายถึง กระบวนความประพฤติที่กลุ่มวิชาชีพหรือสมาคมร่วมกันพิจารณากำหนดขึ้นเพื่อให้สมาชิกในกลุ่มหรือในสังคมนั้นยึดถือ
อ้างอิงจรรยาบรรณ (ออนไลน์) สืบค้นจาก http://www.shicu.com/new_shicu/183.0.html(7 พฤศจิกายน 25555)
กฎหมาย หมายถึง
บรรดาคำสั่งหรือข้อบังคับของรัฐหรือประเทศที่ใช้บังคับความประพฤติทั้งหลายของบุคคล
อันเกี่ยวด้วยเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างกัน
ถ้าใครฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามจะต้องมีความผิดและถูกลงโทษ
ในทางอาญาอาจจะมีโทษปรับเป็นเงินหรือโทษจำคุก ในทางแพ่งอาจจะถูกบังคับให้ชำระหนี้หรือชดใช้ค่าเสียหาย
กฎข้อบังคับ หมายถึง บทบัญญัติที่เป็นชั้นข้อบังคับซึ่งกําหนดขึ้นไว้เป็นระเบียบในการ ปฏิบัติหรือดําเนินการตามกฎหมาย
กฎหมายรัฐธรรมนูญ หมายถึง กฎหมายสูงสุดในการจัดระเบียบการปกครองประเทศ ซึ่งจะวางระเบียบแห่งอำนาจสูงสุดของรัฐหรืออำนาจอธิปไตย ได้แก่ อำนาจนิติบัญญัติ อำนาจบริหาร และอำนาจตุลาการ ตลอดจนการกำหนดสิทธิเสรีภาพและหน้าที่ของชนชาวไทย
พระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) หมายถึง กฎหมายที่พระมหากษัตริย์ทรงตราขึ้นโดยคำแนะนำและยินยอมของรัฐสภา เป็นกฎหมายหลักที่สำคัญที่บังคับใช้อยู่ในปัจจุบัน พระราชบัญญัติเป็นกฎหมายที่มีลำดับชั้นรองลงมาจากกฎหมายรัฐธรรมนูญ พระราชบัญญัติที่สำคัญที่รัฐสภาตราออกมาใช้บังคับ
กฎข้อบังคับ หมายถึง บทบัญญัติที่เป็นชั้นข้อบังคับซึ่งกําหนดขึ้นไว้เป็นระเบียบในการ ปฏิบัติหรือดําเนินการตามกฎหมาย
กฎหมายรัฐธรรมนูญ หมายถึง กฎหมายสูงสุดในการจัดระเบียบการปกครองประเทศ ซึ่งจะวางระเบียบแห่งอำนาจสูงสุดของรัฐหรืออำนาจอธิปไตย ได้แก่ อำนาจนิติบัญญัติ อำนาจบริหาร และอำนาจตุลาการ ตลอดจนการกำหนดสิทธิเสรีภาพและหน้าที่ของชนชาวไทย
พระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) หมายถึง กฎหมายที่พระมหากษัตริย์ทรงตราขึ้นโดยคำแนะนำและยินยอมของรัฐสภา เป็นกฎหมายหลักที่สำคัญที่บังคับใช้อยู่ในปัจจุบัน พระราชบัญญัติเป็นกฎหมายที่มีลำดับชั้นรองลงมาจากกฎหมายรัฐธรรมนูญ พระราชบัญญัติที่สำคัญที่รัฐสภาตราออกมาใช้บังคับ
กฎหมาย (ออนไลน์) สืบค้นจาก http://www.jobpub.com/articles/showarticle.asp?id=2006(7 พฤศจิกายน 25555)
นิติกรรม หมายความ ว่า การใด ๆ อันทำลงโดยชอบด้วยกฎหมายและด้วยใจสมัคร มุ่งโดยตรงต่อการผูกนิติสัมพันธ์ขึ้นระหว่างบุคคล เพื่อจะก่อเปลี่ยนแปลง โอนสงวนหรือระงับซึ่งสิทธิ
บุคคล หมายถึง สิ่งที่สามารถมีสิทธิและหน้าที่ได้ตามกฎหมาย ดังนั้นโดยหลักแล้วบุคคลย่อมมีความสามารถในการทำนิติกรรมได้ทั้งสิ้นเว้นแต่บุคคลนั้นจะเป็นผู้หย่อนความสามารถหรือกฎหมายจำกัดความสามารถในการทำนิติกรรมไว้ทั้งนี้เพื่อช่วยเหลือคุ้มครองผลประโยชน์ของบุคลเหล่านั้น
นิติกรรม หมายความ ว่า การใด ๆ อันทำลงโดยชอบด้วยกฎหมายและด้วยใจสมัคร มุ่งโดยตรงต่อการผูกนิติสัมพันธ์ขึ้นระหว่างบุคคล เพื่อจะก่อเปลี่ยนแปลง โอนสงวนหรือระงับซึ่งสิทธิ
บุคคล หมายถึง สิ่งที่สามารถมีสิทธิและหน้าที่ได้ตามกฎหมาย ดังนั้นโดยหลักแล้วบุคคลย่อมมีความสามารถในการทำนิติกรรมได้ทั้งสิ้นเว้นแต่บุคคลนั้นจะเป็นผู้หย่อนความสามารถหรือกฎหมายจำกัดความสามารถในการทำนิติกรรมไว้ทั้งนี้เพื่อช่วยเหลือคุ้มครองผลประโยชน์ของบุคลเหล่านั้น
นิติกรรม (ออนไลน์) สืบค้นจาก http://www.oknation.net/blog/Mchai/2009/10/17/entry-1 (7 พฤศจิกายน 25555)
ผู้เสียหาย หมายถึง บุคคล ซึ่งได้รับความเสียหายถึงแก่ชีวิต
หรือร่างกายหรือจิตใจ เนื่องจากการกระทำความผิดอาญาของผู้อื่น และต้องไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการกระทำความผิดนั้น
และความผิดที่เกิด ต้องเป็นความผิด
ตามประมวลกฎหมายอาญาที่ระบุไว้ตามพระราชบัญญัติ
จำเลย หมายถึง บุคคล
ซึ่งถูกฟ้องต่อศาลว่า ได้กระทำความผิดอาญา ซึ่งถูกดำเนินคดี โดยพนักงานอัยการ
และถูกคุม ขังในระหว่างพิจารณาคดี และปรากฏหลักฐานชัดเจนว่า จำเลยมิได้เป็นผู้กระทำผิด และมีการถอนฟ้องในระหว่างดำเนินคดี
หรือปรากฏตามคำพิพากษาอันถึงที่สุด ในคดีนั้นว่า ข้อเท็จจริงฟังเป็นยุติว่า จำเลยมิได้เป็นผู้กระทำผิด
หรือการกระทำของจำเลยไม่เป็นความผิด
กฎหมาย (ออนไลน์) สืบค้นจาก http://allknowledges.tripod.com(7 พฤศจิกายน 25555)
สิทธิ หมายถึง อำนาจหรือประโยชน์ที่กฎหมายให้ความคุ้มครองให้
เช่น หากเรามีสิทธิในการซื้อสินค้าจากตลาดเมื่อชำระเงินให้แม่ค้า
หากได้ชำระเงินแล้ว ผู้ใดจะบังคับมิให้เราซื้อได้ไม่ หากบังคับ กฎหมายย่อมคุ้มครอง
การได้รับสิทธิตามกฎหมายนั้นย่อมไม่ก่อให้เกิดความยุติธรรมกับผู้มีส่วนได้เสียนั้นๆ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น